โครงการผ่อดีดี
โครงการผ่อดีดี (PODD – Participatory Onehealth Disease Detection) หรือมีชื่อเต็มว่า โครงการนำร่องการเฝ้าระวังและควบคุมโรคระบาดสัตว์ที่ติดต่อถึงคนหรือที่กระทบรายได้ชาวบ้าน เกิดจากการศึกษาค้นคว้าและการวางแผนการเฝ้าระวังโรคที่สามารถควบคุมเหตุระบาดได้อย่างทันท่วงทีทั้งในคนและสัตว์ เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นทั้งด้านสุขภาพและรายได้ของชาวบ้าน โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และโอเพ่นดรีม
ด้วยความเชื่อมั่นในด้านความเข้มแข็งของชุมชนวัฒนธรรมล้านนา และเครือข่ายสุขภาพหนึ่งเดียวจะช่วยในการแก้ปัญหาโรคระบาดผ่านการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนได้ อีกทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลที่นำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้มีความรวดเร็วอย่างกว้างขวางในสังคมปัจจุบัน นำมาสู่การจัดทำโครงการวิจัยและพัฒนาที่เกิดจากความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และชุมชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
Problem & Concept
โรคระบาดคร่าชีวิตคนจำนวนมาก โดยเฉพาะโรคจากสัตว์สู่คน ทั้ง Avian Flues, Swine Flue, HIV, Ebola
การเลี้ยงสัตว์ในบางพื้นที่นั้นคนกับสัตว์มีความใกล้ชิดกันมาก การติตต่อและแพร่ระบาดสูง การดำเนินการแบบที่เคยเป็นมาตั้งแต่ตรวจพบจนถึงหยุดยั้งโรคได้ใช้เวลามาก ทำให้เกิดความเสียหายมาก โดยเฉพาะเมื่อสัตว์ไม่สามารถบอกอาการตนเอง
จะเป็นไปได้ไหมที่เราจะหยุดยั้งโรคระบาดก่อนที่มันจะแพร่กระจาย ด้วยการร่วมมือกันเฝ้าระวัง
Execution
โครงการผ่อดีดีจึงเกิดขึ้นจากการร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญหลากสาขา ทั้งสัตวแพทย์จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปศุสัตว์จังหวัด นักสาธารณสุข แพทย์ พยาบาล และ สาธารณสุขจังหวัด นักเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและอาสาสมัคร จังหวัดเชียงใหม่ มูลนิธิ SGTF ที่มีเครือข่ายและสนับสนุนทุนในการริเริ่มและพัฒนาโครงการ รวมทั้งบริษัทโอเพ่นดรีมที่ร่วมสร้างและพัฒนาระบบและเทคโนโลยี การทำงานร่วมกันทุกภาคส่วนโดยทุกฝ่ายรับผิดชอบในส่วนหน้าที่ของตนในแต่ละขั้นตอนของระบบเฝ้าระวังและควบคุม ทำให้เกิดระบบดำเนินได้สัมฤทธิ์ผล เกิดเป็น ศูนย์เฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Impact
- มีผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อรายงานสถานการณ์เพิ่มมากขึ้น (จากเร่ิมต้นโครงการ 600 คนเป็น 20,000 คน ณ ปี 2564)
- มีชุมชนอื่นๆ ทั้งในและนอกจังหวัดเชียงใหม่นำระบบนี้ไปปรับใช้เฝ้าระวังในเรื่องของชุมชนของตนเพิ่มขึ้น
- ในช่วง 34 เดือนแรก โครงการผ่อดีดีหยุดยั้งการระบาดได้ 75 ครั้ง สามารถลดมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นได้เป็นจำนวนหลายล้านบาท
- ชุมชนผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ซึ่งเป็นผู้มีส่วนร่วมและได้รับผลกระทบจากการเฝ้าระวังและควบคุม สามารถดูแลและใช้ระบบจัดการ และรับมือกับสถานการณ์ที่ร่วมกันเฝ้าระวังได้ด้วยตัวของชุมชนเองอย่างยั่งยืน แบ่งเบาภาระการช่วยเหลือจากส่วนกลาง
- องค์ความรู้ทั้งหมดของโครงการนี้ยังเป็นรูปแบบ open source ที่ชุมชนใดๆ สามารถนำไปปรับใช้เพื่อการเฝ้าระวังและควบคุมในเรื่องที่ชุมชนนั้นๆ ต้องการได้อีกด้วย
Awards & Recognitions
โครงการผ่อดีดีโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และโอเพ่นดรีม ได้รับรางวัลเชนะเลิศ Z(Grand Prize Winner) จากโครงการทั้งหมด 340 โครงการทั่วโลกใน Trinity Challenge โดยเป็นการคัดเลือกโครงการที่ใช้เทคโนโลยีในการรวมรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการรับมือและแก้ปัญหาภาวะวิกฤติทางสุขภาพ
พิธีประกาศรางวัล Trinity Challenge
MIT Solve Competition 2020
ได้รับเลือกใน MIT Solve Competition จาก 2,600 โครงการ ที่ส่งเข้าร่วมจาก 135 ประเทศ
PBS NewsHours: Leading Edge of Science and Medicine, 2019
เมื่อ 23 มกราคม 2562 นวตกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการหยุดยั้งการระบาดของโรค ทีมงานจากสถานีโทรทัศน์ PBS ประเทศสหรัฐอเมริกาเดินทางลงพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่ที่ซึ่งบริษัทโอเพ่นดรีมร่วมออกแบบและสร้างระบบผ่อดีดี เพื่อเล่าถึงที่มาและวิธีการดำเนินงานของระบบ รวมถึงสัมภาษณ์เกษตรกร, อาสาสมัครผู้รายงาน, สาธารณสุขท้องถิ่น และนอกจากนี้ยังสัมภาษณ์บริษัทโอเพ่นดรีมถึงแนวคิดการออกแบบแอปพลิเคชั่นเพื่อคืนพลังอำนาจการจัดการสุขภาพและภาวะโรคระบาดคืนสู่ชุมชนด้วย
PODD on PBS NewsHour
ASEAN ICT Awards, 2017
โครงการผ่อดีดีได้รับรางวัล Bronze Award ในหมวด Corporate Social Responsibility (CSR) จากการแข่งขัน ASEAN ICT Awards 2017 เมื่อ พฤศจิกายน 2560
เล่าเรื่องโครงการ PODD ว่าเป็นโครงการที่สามารถทำให้คุณยายกลายเป็นนักสืบผู้รายงานโรคระบาดได้ ผ่านสกู๊ปข่าวที่ BBC News มาถ่ายทำที่จังหวัดเชียงใหม่
BBC