ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการเลือกตั้งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่น่าจะช่วยเสริมศักยภาพให้กับผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถเข้าถึงและเรียนรู้ได้อย่างง่ายขึ้นคือ จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ในแต่ละจังหวัด (ผู้เขียนเองบางทีก็งงว่าจังหวัดที่บ้านมี ส.ส. กี่คน)
ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันระบุว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบแบ่งเขตเลือกตั้งมีทั้งหมด 375 คนจาก 375 เขตเลือกตั้งทั่วประเทศ แต่ละจังหวัดมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจำนวนประชากร (170,000 คนต่อ ส.ส. 1 คน) สถิติเบื้องต้นที่น่าสนใจคือ
- จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส. มากที่สุดคือ กรุงเทพมหานคร จำนวน 33 คน
- จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส. มากที่สุดโดยไม่นับกรุงเทพฯ คือ นครราชสีมาจำ จำนวน 15 คน
- จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส. น้อยที่สุดคือ (เรียงตามลำดับตัวอักษร) ตราด นครนายก พังงา ระนอง สมุทรสงคราม สิงห์บุรี แม่ฮ่องสอน จังหวัดละ 1 คน
- จังหวัดบึงกาฬ ที่แยกออกมาจากจังหวัดหนองคาย เป็นจังหวัดล่าสุดที่มี ส.ส. จำนวน 2 คน
นอกจากนั้นเรายังได้ลองทำ visualisation ข้อมูล พื้นที่-จำนวน ส.ส. ลงบนแผนที่ โดยใช้ความ อ่อน-เข้ม ของสีในการบอกถึงจำนวน ส.ส. ในแต่ละจังหวัด สีขาว คือจำนวน ส.ส. น้อยที่สุด สีเขียวเข้ม คือจำนวน ส.ส. มากที่สุด ผู้ใช้สามารถคลิกแผนที่แต่ละจังหวัดเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมได้
ดาวน์โหลดข้อมูลจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละจังหวัด: รูปแบบ OpenDocument spreadsheet (.ods) | รูปแบบ Excel (.xls) (ทั้งสองรูปแบบเอาไปแปลงเป็น CSV ต่อได้)
ตัวอย่างบางส่วน (ดูทั้งหมดในรูปแบบ HTML)
ที่มาข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง